ถอดบทเรียน “วิกฤตพลังงานโลก” สู่มาตรการประหยัด 4 ป. 3 ช. ที่คนไทยควรรู้!
ปี 2565 “วิกฤตพลังงาน” ย้อนกลับมาเป็นวิกฤตครั้งใหม่ที่ทั่วโลกต้องเผชิญ และเร่งปรับตัวเพื่อรับมือกับต้นทุนราคาพลังงานที่พุ่งพรวด ทำให้หลายประเทศหันกลับมาให้ความสำคัญกับการ “ประหยัดพลังงาน” หนทางรอดพ้นจากวิกฤตในครั้งนี้ ที่ยังไม่มีใครรู้ว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด “มาตรการประหยัดพลังงาน” จึงเปรียบเสมือนโอกาสที่เกิดขึ้นภายใต้วิกฤต ที่ทำให้ผู้คนบนโลกต้องหันกลับมาตระหนัก และใส่ใจเรื่องการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
“มาตรการประหยัดพลังงาน” มักเป็นมาตรการอันดับต้นๆ ที่หลายประเทศนำกลับมาใช้บริหารจัดการในยามที่เกิดวิกฤตพลังงาน เพราะให้ผลในการประหยัดทันที และทันต่อสถานการณ์ ซึ่งในแต่ละประเทศ จะเผชิญกับวิกฤตพลังงาน ที่แตกต่างกันไปตามลักษณะทางกายภาพ และนโยบายของประเทศนั้นๆ การกำหนดมาตรการรับมือจึงแตกต่างกันไป แต่ที่เหมือนกันคือ ยังอยู่บนพื้นฐานของการประหยัดพลังงาน เป็นหัวใจสำคัญ ลองไปดูกันว่า แต่ละประเทศใช้มาตรการประหยัดพลังงานกันอย่างไร
เริ่มจาก ทวีปอเมริกา ประเทศมหาอำนาจอย่าง “สหรัฐอเมริกา” ที่เป็นทั้งผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก แต่ก็หนีไม่พ้นที่จะเผชิญกับวิกฤตราคาพลังงานแพง เนื่องจากนโยบายลดกำลังการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปก และโอเปกพลัส รวมถึงสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องงัดมาตรการประหยัดพลังงานขึ้นมาใช้ ทั้งการประกาศมาตรฐานการประหยัดพลังงานขั้นต่ำของเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่กำหนดให้เครื่องใช้ไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิดพลังสูงสุดที่อนุญาต หรือ อาจกำหนดประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้าโดยเฉลี่ยในทุกรุ่นของเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทเดียวกัน เช่น ตู้เย็น และเครื่องซักผ้า
รวมถึงการออกประกาศ Building Code กฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคารต่างๆ เพื่อบังคับใช้ข้อกำหนดด้านประสิทธิภาพพลังงาน และยังมีการปรับปรุงมาตรฐาน Building Code ในรัฐต่างๆให้เข้มงวดมากขึ้น ตลอดจนการออกมาตรฐาน Energy Efficiency Resource Standards (EERS) หรือมาตรการที่กำหนดให้ผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการด้านไฟฟ้าจะต้องช่วยให้ผู้ใช้บริการหรือผู้ใช้ไฟฟ้าเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ไฟฟ้า เพื่อช่วยส่งเสริมการใช้พลังงานหรือการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นับเป็นการควบคุมด้านซัพพลาย
ถัดมาทวีปยุโรป ถือเป็นทวีปที่เผชิญกับศึกหนักด้านวิกฤตพลังงานในรอบนี้ อันเป็นผลสืบเนื่องจากจาก สหภาพยุโรป(อียู) ประกาศคว่ำบาตร “รัสเซีย” ส่งผลให้รัสเซียลดการส่งออกก๊าซธรรมชาติผ่านท่อส่ง Nord Stream1 ลดลง 20% ทำให้ช่องทางการนำเข้าพลังงานหลักของยุโรปหายไป และมีความเสี่ยงที่จะนำไปสู่ปัญหาขาดแคลนพลังงานในอนาคต ประเทศในทวีปยุโรป จึงเร่งออกมาตรการประหยัดพลังงาน เพื่อรับมือ เช่น ฝรั่งเศส ได้ประกาศแผน “Energy Sobriety” ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม 2565 และอยู่ระหว่างดำเนินการร่างแผนงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันใช้เกิดมาตรการประหยัด ให้บรรลุเป้าหมายลดการใช้พลังงานลง 10% ภายในปี 2567 เทีบกับปี 2562
รวมทั้ง ออกมาตรการประหยัดพลังงาน กำหนดให้ห้างร้านต่างๆ ร่วมมือปิดประตูเข้า-ออก ในขณะเปิดเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความร้อน และห้ามเปิดใช้ป้ายโฆษณาที่ใช้ไฟฟ้าส่องสว่างในทุกเมือง ระหว่าง ช่วงเวลา 1.00 น. ถึง 6.00 น. ซึ่งเป็นมาตรการที่บังคับใช้กับเมืองที่มีประชากรน้อยกว่า 800,000 คน
ส่วน เยอรมนี รัฐบาลได้อนุมัติมาตรการประหยัดพลังงาน ที่จะจำกัดการใช้ไฟฟ้าภายในอาคารสาธารณะ และอาคารสำนักงานต่างๆ เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายนนี้เป็นต้นไป กับอาคารสาธารณะที่นอกเหนือจากโรงพยาบาลจะต้องจำกัดอุณหภูมิเครื่องทำความร้อนอยู่ที่ 19 องศาเซลเซียส รวมถึงบริเวณห้องโถงทางเดินจะต้องงดใช้เครื่องทำความร้อน อีกทั้งจะหันมาใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงของรถไฟทดแทนการใช้น้ำมันคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ข้ามมาฝั่งทวีปเอเชีย ที่ได้รับผลพวงจากวิกฤตราคาพลังงานโลก โดย จีน มหาอำนาจทางเศรษฐกิจในแถบนี้ และเป็นผู้ใช้พลังงานรายใหญ่ของโลก ก็ต้องเผชิญกับวิกฤตราคาพลังงาน พ่วงด้วยปัญหา “โลกร้อน” ที่ส่งผลให้อุณหภูมิภายในประเทศจีน ปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นเหตุให้แม่น้ำหลายสายแห้งแล้ง และส่งผลกระทบต่อการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ จีน จึงเข้าสู่ภาวะขาดแคลนเชื้อเพลิงและไฟฟ้า ทำให้รัฐบาล เร่งรณรงค์ประหยัดพลังงานในปี 2565 เพื่อรับมือ ทั้งมาตรการปันส่วนไฟฟ้าและการประหยัดไฟเพื่อให้มีไฟฟ้าเพียงพอสำหรับครัวเรือนในบางพื้นที่ของประเทศ มาตรการสั่งปิดโรงงาน(ชั่วคราว) และกำหนดให้ปิดไฟตกแต่งภูมิทัศน์นอกอาคาร โฆษณานอกอาคาร รวมถึงระบบไฟฟ้าของรถไฟฟ้าใต้ดินและป้ายชื่อของอาคารต่างๆ เพื่อประหยัดไฟฟ้า เป็นต้น
ส่วนประเทศรอบๆ บ้านอย่างอาเซียน ไม่ต่างจากทวีปอื่นๆ ที่ต้องงัดแผนประหยัดพลังงานออกมาใช้ ได้แก่ เวียดนาม ที่เผชิญกับความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้น 10% ทำให้ รัฐบาลต้องร่างแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยประสิทธิภาพพลังงาน การประหยัด และการอนุรักษ์ทรัพยากรพลังงานฯ ออกมารับมือ โดยคาดหวังให้เกิดการประหยัด 8-10% ของการใช้พลังงานทั่วประเทศ
มาถึงประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศเป็นหลัก ย่อมหนีไม่พ้นจากวิกฤตราคาพลังงานในครั้งนี้ รัฐบาลก็ไม่รอช้าปัดฝุ่นมาตรการประหยัดพลังงานขึ้นมาใช้ทันที และมาตรการที่คุ้มหูคนไทย สามารถเริ่มต้นประหยัดได้ต้นเองและทันทีนั้น ก็คือ มาตรการ 4 ป. และ 3 ช.
มาตรการ 4 ป. เป็นมาตรการประหยัดไฟฟ้า ประกอบด้วย
1. ป. ปิด ก็คือ ปิดไฟเมื่อไม่ได้ใช้ เช่น ปิดสวิชไฟ แอร์ หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ โดยเปิดเมื่อต้องการใช้งาน
2. ป. ปลด ก็คือ ปลดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เมื่อเลิกใช้งาน เช่น ทีวี เครื่องเสียง คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
3. ป.ปรับ ก็คือ ปรับอุณหภูมิแอร์ แม้ว่ามาตรฐานทั่วไปกำหนดที่ 25 องศาเซลเซียส แต่ถ้าจะประหยัดพลังงานเพิ่ม ก็สามารถปรับอุณหภูมิเป็น 26 องศาเซลเซียส เพราะทุก 1 องศาเซลเซียสที่ปรับเพิ่มขึ้นจะช่วยประหยัดไฟได้ประมาณ 50%
4. ป.เปลี่ยน ก็คือ เปลี่ยนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าเก่าๆ โดยหันมาเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 รวมถึงเปลี่ยนมาเลือกใช้หลอดไฟ LED เป็นต้น
มาตรการ 3 ช.เป็นมาตรการประหยัดน้ำมัน ประกอบด้วยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
1. ช. เช็ก ก็คือ การเช็กประสิทธิภาพของรถ เช่น ตรวจเช็กเครื่องยนต์ตามคู่มือแนะนำ (ตามระยะทางใช้งานต่อกิโลเมตร) ตรวจเช็กลมยางให้เหมาะสม เป็นต้น
2. ช. ชัวร์ ก็คือ ก่อนเดินทางขับขี่ ควรเช็ดเส้นทางให้ชัวร์ ป้องกันการขับรถผิดเส้นทาง หรือเลือกเดินทางในเส้นทางที่การจราจรไม่หนาแน่น ซึ่งจะช่วยให้ไม่เสียเวลา และยังประหยัดน้ำมัน
3. ช. ใช้ ก็คือ การหันมาเลือกใช้บริการรถสาธารณะ ที่ช่วยให้เกิดการประหยัดน้ำมันในบางเส้นทางได้ดีกว่าการใช้รถยนต์ส่วนตัว
แม้ว่า ครม. เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 ได้เห็นชอบมาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ โดยอนุมัติเป็นหลักการให้หน่วยงานราชการดำเนินการตามข้อเสนอของกระทรวงพลังงาน ลดการใช้พลังงาน 20% รวมไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิง พร้อมตั้งเป้าหมายลดการใช้ไฟฟ้าได้ 120 ล้านหน่วย และลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้ 12 ล้านลิตร รวมปริมาณการใช้พลังงานที่ลดลง คิดเป็นมูลค่าประหยัดได้ 1,020 ล้านบาทในช่วงครึ่งหลังปี 2565
มาตรการเหล่านี้ เป็นนโยบายส่วนหนึ่งที่รัฐบาลวางแนวทางไว้เพื่อรับมือวิกฤตราคาพลังงาน แต่มาตรการนี้จะไม่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด หากคนไทยทุกคน ไม่ตระหนักถึงการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า และร่วมมือกันลดใช้พลังงานอย่างจริงใจ เพื่อเปลี่ยน “วิกฤต” ให้กลายเป็น “โอกาส” ในการสร้างนิสัย “ประหยัดพลังงาน” อย่างยั่งยืน